ตัวแทนจากคณะวิทยาการจัดการ เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ “การประเมินผลกระทบและผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (Social Impact Assessment : SIA & Social Return On Investment : SROI) ขั้นกลาง” โดยวิทยากรจากวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

18 – 19 พฤษภาคม 2567
ตัวแทนจากคณะวิทยาการจัดการ เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ “การประเมินผลกระทบและผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (Social Impact Assessment : SIA & Social Return On Investment : SROI) ขั้นกลาง” โดยวิทยากรจากวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจและทดลองปฏิบัติการใช้เครื่องมือการประเมินผลตอบแทนทางสังคม เพื่อให้ทราบผลประโยชน์สุทธิในรูปตัวเงินของโครงการ ทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ มิติด้านสังคม และมิติด้านสิ่งแวดล้อม เชื่อมโยงกับเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
โดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of Change : ToC) วิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่แท้จริง สร้างห่วงโซ่ผลกระทบ (Impact value chain) แล้วกำหนดตัวชี้วัดที่เชื่อมโยงการกำหนดผลประโยชน์จากโครงการจากกรณีฐาน (Base case scenario) เพื่อวัดผลตอบแทนทางสังคมในระยะ 3 ปี ขึ้นไป
สิ่งสำคัญ คือ การแปลงกิจกรรมทั้งหมดให้เป็นค่าแทนการเงิน (Financial proxy) ซึ่งผลประโยชน์ปัจจุบันสุทธิทางเศรษฐกิจ คือ ราคาตลาด (Market price) ผลประโยชน์ปัจจุบันสุทธิทางสังคม คือ ต้นทุนการป้องกัน (Prevention cost) และผลประโยชน์ปัจจุบันสุทธิทางสิ่งแวดล้อม คือ การถ่ายโอนมูลค่า (Benefit transfer) เพื่อรับทราบการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง (Net Change)
โดยใช้โปรแกรมการวิเคราะห์สำเร็จรูป สิ่งสำคัญเหนืออื่นใด คือ ความเที่ยงตรงของข้อมูลที่รวบรวมด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ แล้วประเมินบนหลักการผลประโยชน์ตอบแทนต่ำสุด (Minimum evaluation) ซึ่งกระบวนการนี้จะมีความสำคัญต่อการจัดสรรงบประมาณในการเป็นมหาวิทยาลัยเชิงพื้นที่ (Area based University)
ต้องขอขอบคุณท่านวิทยากร คณะผู้บริหารทุกท่าน และขอบคุณบุคลากรจากคณะ ฯ ที่ร่วมอบรมอย่างหนักหน่วงตลอดเสาร์ – อาทิตย์ ที่ผ่านมา หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเกิดประโยชน์ต่อการทำงานบริการวิชาการในอนาคต ครับ