- ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Business Administration
Program in Retail Business Management
- ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็มภาษาไทย : บริหารธุรกิจบัณฑิต ( การจัดการธุรกิจค้าปลีก )
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Bachelor of Business Administration
( Retail Business Management )
ชื่อย่อภาษาไทย : บธ.บ. ( การจัดการธุรกิจค้าปลีก )
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : B.B.A. ( Retail Business Management )
- จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
ไม่น้อยกว่า 132 หน่วยกิต
- รูปแบบของหลักสูตร
- รูปแบบ เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี ที่จัดให้มีรายวิชาภาคปฏิบัติในสถานประกอบการสลับกับการเรียนภาคทฤษฎีในมหาวิทยาลัยทุกภาคการศึกษาตลอดหลักสูตร และผู้เรียนสามารถเทียบโอนหน่วยกิตได้
- ประเภทของหลักสูตร หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
- ภาษาที่ใช้ ภาษาไทย
- การรับเข้าศึกษา รับนักศึกษาไทย และนักศึกษาต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
- ความร่วมมือกับสถาบันอื่น ร่วมมือกับสถาบันอื่นได้แก่ บริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทในกลุ่มฯ
- สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
- หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563
- สภาวิชาการ เห็นชอบในการนำเสนอหลักสูตรต่อสภามหาวิทยาลัยในการประชุม ครั้งที่ 5/2562 วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
- สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตร ในการประชุม ครั้งที่ 11/2562 วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
- องค์กรวิชาชีพรับรองหลักสูตร วันที่ –
- เปิดใช้ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2563
- ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรคุณภาพและมาตรฐาน
หลักสูตรจะได้รับการเผยแพร่ว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพ และมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ในปีการศึกษา 2565
- อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- พนักงาน/ผู้จัดการร้านค้าปลีกสมัยใหม่
- ผู้ประกอบการกิจการธุรกิจค้าปลีก
- พนักงานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย
- พนักงานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด
- เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม/บุคลากรด้านธุรกิจค้าปลีก
- เจ้าหน้าที่งานจัดซื้อ คลังสินค้าและเอกสารของธุรกิจค้าปลีก
ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร
1. หลักการและเหตุผล
การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาในยุคปัจจุบัน มีแนวโน้มเป็นการจัดการศึกษาในลักษณะของการบูรณาการรายวิชาต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อให้ผู้เรียนได้มีความรู้ และวิสัยทัศน์ที่กว้างขวางครอบคลุมมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังควรเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีวิชาปฏิบัติควบคู่ไปกับการเรียนในภาคปฏิบัติด้วย เพื่อให้ผู้เรียนได้มีความรู้ทั้งสองส่วนไปพร้อมๆ กันเพื่อให้เกิดความพร้อมในการทำงานทันทีที่จบการศึกษาและเกิดทักษะความชำนาญ ลดข้อผิดพลาดการทำงานจริงลงได้ซึ่งจะเป็นที่พึงพอใจของสถานประกอบการ ในปัจจุบันจึงมีหลักสูตรเชิงสหกิจศึกษา (coorperative education) เกิดขึ้นทดแทนหลักสูตรในรูปแบบเดิมมากขึ้น
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร กับบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ร่วมพัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนตลอดทั้งหลักสูตร โดยมหาวิทยาลัยรับผิดชอบรายวิชาด้านทฤษฎี และบริษัทรับผิดชอบรายวิชาภาคปฏิบัติ และการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณสมบัติตรงตามที่สถานประกอบการและตลาดแรงงานต้องการโดยมีทักษะความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ และด้านมนุษยสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับบริบทของการค้าปลีกปัจจุบัน หลักสูตรปรับปรุงฉบับนี้จึงสร้างสรรค์รายวิชาใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นเพื่อรองรับและตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆ ดังกล่าว
2. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
2.1 ปรัชญา
มุ่งพัฒนาความรู้ความสามารถด้านการบริหารการค้าปลีกบนพื้นฐานของคุณธรรม
2.2 ความสำคัญ
เป็นหลักสูตรที่ผลิตบัณฑิตด้านการบริหารการค้าปลีกซึ่งมีการขยายตัวในอัตราที่สูงเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานด้านการค้าปลีกและเพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสังคมและประเทศ เป็นทางเลือกให้นักศึกษามีโอกาสเลือกเรียนสาขาที่เกี่ยวกับการใช้ความรู้ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติรวมทั้งเทคนิควิธีการใช้อุปกรณ์การบริหารสมัยใหม่เพื่อเข้าสู่งานอาชีพด้านการค้าปลีกและการประกอบอาชีพของตนเองในอนาคต เป็นหลักสูตรแนวใหม่ที่ใช้การบริหารจัดการร่วมระหว่างบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) กับมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครก่อให้เกิดการร่วมมือในการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างทั้งสองฝ่ายและการใช้จุดแข็งของทั้งสองฝ่ายในการผลิตบัณฑิตที่มีความเข้มแข็งทางด้านวิชาการและโดดเด่นในด้านการปฏิบัติงานและคุณธรรมในการประกอบวิชาชีพ ผู้เรียนจะได้รับค่าตอบแทนจากการฝึกปฏิบัติงานกับบริษัทตลอดหลักสูตร นอกจากนี้บัณฑิตที่จบการศึกษาจะได้รับการบรรจุเข้าปฏิบัติงานในบริษัททุกคนในตำแหน่งระดับผู้ช่วยผู้จัดการร้านค้าปลีกของบริษัท และบริษัทในกลุ่มเป็นอย่างน้อย
2.3 วัตถุประสงค์
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติอันพึงประสงค์ดังต่อไปนี้
2.3.1 วัตถุประสงค์ด้านความรู้
1. มีความรู้ ความสามารถ ในการประกอบอาชีพทางด้านธุรกิจค้าปลีกเชิงบูรณาการ
2. มีความสามารถในการจัดการและบริหารงานทางด้านธุรกิจค้าปลีกได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความคิดเชิงสร้างสรรค์ และความคิดเชิงกลยุทธ์การแข่งขัน มีความสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมจากโครงงานวิจัย สามารถแก้ไขปัญหาระยะสั้น และระยะยาวได้เป็นอย่างดี
3. มีความสามารถเชิงการสร้างนวัตกรรมในด้านการค้าปลีก
2.3.2 วัตถุประสงค์ด้านความสามารถและศักยภาพ
1. มีคุณลักษณะและความสามารถที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนประกอบอาชีพอิสระได้
2. มีความสามารถในการบริหารการค้าปลีกในประเทศและต่างประเทศ กลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จากรูปแบบการเรียนที่เน้นสอดแทรกการสื่อสารภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น และวัฒนธรรมอาเซียน
3. วัตถุประสงค์ด้านคุณธรรม
1. มีคุณธรรม ความรับผิดชอบ และเจตคติที่ดีในการประกอบอาชีพธุรกิจค้าปลีก สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสมและมีความสุข
2. มีคุณธรรม ความรับผิดชอบ และเจตคติที่ดีในการประกอบอาชีพธุรกิจค้าปลีก มีความสามารถด้านมนุษย์สัมพันธ์สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทรอบข้าง
หลักสูตรการจัดการธุรกิจค้าปลีก
ผศ.ดร.วศิน เพชรพงศ์พันธ์ ประธานหลักสูตรการจัดการธุรกิจค้าปลีก |
|
ผศ.ศักดาเดช กุลากุล อาจารย์ |
ผศ.ชัยยศ ณัฐอังกูร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ |
ผศ.มิ่งสกุล โฮมวงศ์ อาจารย์ |
ผศ.ชัยยศ ณัฐอังกูร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ |