หลักสูตร ป.โท
1. รหัสและชื่อหลักสูตร
รหัสหลักสูตร :
ภาษาไทย : หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
ภาษาอังกฤษ : Master of Arts Program in Public and Private Management
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็มภาษาไทย : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Master of Arts (Public and Private Management)
ชื่อย่อภาษาไทย : ศศ.ม. (การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : M.A. (Public and Private Management)
3. สาขาวิชาเอก
การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
ไม่น้อยกว่า 39 หน่วยกิต
5. รูปแบบของหลักสูตร
5.1 รูปแบบ
หลักสูตรระดับปริญญาโท แผน ก แบบ ก 2
5.2 ภาษาที่ใช้
หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทย
5.3 การรับเข้าศึกษา
รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี และผ่านการคัดเลือกโดยสอบข้อเขียนและ/หรือสอบสัมภาษณ์ตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนด ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2564 (ภาคผนวก ข)
5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
จัดการเรียนการสอนโดยตรง
5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาเดียว
6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
6.1 หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564
6.2 คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาเห็นชอบในการนำเสนอหลักสูตรต่อสภาวิชาการ ในการประชุมครั้งที่ 3/2564 วันที่ 4 มิถุนายน 2564
6.3 สภาวิชาการเห็นชอบในการนำเสนอหลักสูตรต่อสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 6/2564 วันที่ 18 มิถุนายน 2564
6.4 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตร ในการประชุมครั้งที่ 7/2564 วันที่ 23 กรกฎาคม 2564
6.5 เปิดสอน ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564
7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
หลักสูตรจะได้รับการเผยแพร่ว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ในปีการศึกษา 2565
8. อาชีพที่สามารถประกอบอาชีพได้หลังสำเร็จการศึกษา
1) นักบริหารจัดการในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงองค์การไม่แสวงหากำไร
2) นักวิชาการ นักวิจัย ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
3) นักพัฒนาองค์กรเอกชน (non-government organization: NGO)
4) นักวิเคราะห์นโยบายและแผนของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
5) นักบริหารงานทั่วไปขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
6) นักการเมืองท้องถิ่นและนักการเมืองระดับชาติ
หลักสูตร ป.เอก
1. รหัสและชื่อหลักสูตร
รหัสหลักสูตร : 25531751104345
ภาษาไทย : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Public and Private Management
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็มภาษาไทย : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy (Public and Private Management)
ชื่อย่อภาษาไทย : ปร.ด. (การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : Ph.D. (Public and Private Management)
3. สาขาวิชาเอก
การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
ไม่น้อยกว่า 54 หน่วยกิต
5. รูปแบบของหลักสูตร
5.1 รูปแบบ
หลักสูตรระดับปริญญาเอก แบบ 2.1
5.2 ภาษาที่ใช้
หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทย
5.3 การรับเข้าศึกษา
รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี และผ่านการคัดเลือกโดยสอบข้อเขียนและ/หรือสอบสัมภาษณ์ตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนด ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2564 (ภาคผนวก ข)
5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
จัดการเรียนการสอนโดยตรง
5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาเดียว
6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
6.1 หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564 โดยปรับปรุงจากหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)
6.2 คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาเห็นชอบในการนำเสนอหลักสูตรต่อสภาวิชาการ ในการประชุมครั้งที่ 3/2564 วันที่ 4 มิถุนายน 2564
6.3 สภาวิชาการเห็นชอบในการนำเสนอหลักสูตรต่อสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 6/2564 วันที่ 18 มิถุนายน 2564
6.4 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตร ในการประชุมครั้งที่ 7/2564 วันที่ 23 กรกฎาคม 2564
6.5 เปิดสอน ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564 เป็นต้นไป
7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
หลักสูตรจะได้รับการเผยแพร่ว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ในปีการศึกษา 2566
8. อาชีพที่สามารถประกอบอาชีพได้หลังสำเร็จการศึกษา
1) นักบริหารจัดการในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงองค์การไม่แสวงหากำไร
2) นักบริหารงานทั่วไป นักบริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3) นักพัฒนาองค์กรเอกชน (non-government organization: NGO)
4) ผู้บริหารในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
5) นักวิเคราะห์นโยบายและแผนของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
6) นักการเมืองท้องถิ่นและนักการเมืองระดับชาติ
7) นักวิชาการ นักวิจัย ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มุ่งผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถทางด้านการบริหารจัดการภาครัฐและภาคเอกชน ควบคู่ไปกับความมีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบต่อตนเอง องค์กร ชุมชนและสังคม โดยการบูรณาการความรู้ไปใช้พัฒนาองค์กรและสังคม
ความสำคัญของหลักสูตร
จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม สถานการณ์โลกาภิวัตน์ และบริบทโลกยุคใหม่ที่เต็มไปด้วยความท้าท้ายใหม่ รวมทั้งผลกระทบและการปรับตัวสู่ New Normal หลังวิกฤต COVID-19 ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างแท้จริง โดยการพัฒนาลงถึงรากลึกเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง การสร้างและรักษาเสถียรภาพ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศไปสู่เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy) ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม โดยคำนึงถึงการเพิ่มศักยภาพของทุกภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจ เพื่อพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืน ภายใต้กรอบนโยบายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ประเทศไทยจึงมีความจำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านการบริหารจัดการทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน ดังนั้น การพัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน จึงเป็นหลักสูตรที่จะสร้างบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะในการบริหารจัดการ โดยเน้นการวิจัยและการบูรณาการความรู้ทางด้านการบริหารจัดการ และสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และบริบทโลกยุคใหม่ เพื่อไปประยุกต์ใช้บริหารจัดการในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนชุมชนและท้องถิ่น
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตทางการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน ที่มีความรู้ความสามารถทางการบริหารจัดการภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และสามารถนำหลักการและความรู้ทางการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน ไปบูรณาการประยุกต์ใช้บริหารจัดการในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนชุมชนและท้องถิ่น
2. เพื่อสร้างนักบริหารองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนที่มีคุณธรรม จริยธรรม ยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
3. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างบุคลากรในภาครัฐและภาคเอกชน ผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ มุมมอง ทัศนคติ เพื่อนำไปสู่การร่วมมือกันขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถทางด้านการบริหารจัดการภาครัฐและภาคเอกชน ควบคู่ไปกับความมีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบต่อตนเอง องค์กร ชุมชนและสังคม โดยสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่และนำไปบูรณาการประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมทั้งในองค์กรและสังคม
ความสำคัญของหลักสูตร
จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และกระแสโลกาภิวัตน์ การขับเคลื่อนของประเทศเข้าสู่ Thailand 4.0 รวมทั้งนโยบายการพัฒนาประเทศภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) และการพัฒนาประเทศที่เน้นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศไปสู่เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy) ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ดังนั้น การพัฒนาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน จึงเป็นหลักสูตรที่จะสร้างบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ
มีทักษะในการบริหารจัดการ โดยเน้นการศึกษาวิจัยและพัฒนาเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ และนวัตกรรมทางการบริหารจัดการ และรู้เท่าทันถึงการเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ กลุ่มประชาคมอาเซียนและกลุ่มประเทศอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเป็นสังคมผู้สูงอายุ สภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผัน (Disruptive Change) ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยสามารถนำ
องค์ความรู้ใหม่ไปบูรณาการประยุกต์ใช้บริหารจัดการในองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งชุมชนและท้องถิ่น
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตทางการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนที่มีความรู้ความสามารถทางการบริหารจัดการภาครัฐและภาคเอกชน และมีศักยภาพในการทำวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่และนวัตกรรมทางการบริหารจัดการ โดยนำไปประยุกต์ใช้บริหารจัดการองค์การ ชุมชนและท้องถิ่น ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ภายใต้บริบทของชุมชน ท้องถิ่น และสภาวะเศรษฐกิจ สังคม ในปัจจุบัน
2. เพื่อเป็นผู้บริหารที่มีทักษะความสามารถในการบริหารองค์การภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาวะเศรษฐกิจ สังคม กระแสโลกาภิวัฒน์ ที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาองค์การและการพัฒนาประเทศ
3. เพื่อเป็นผู้บริหารที่มีคุณธรรม จริยธรรม ยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ ยอมรับความเห็นต่างมีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม และสามารถกำกับดูแลองค์การภาครัฐและภาคเอกชนได้เป็นอย่างดี