คณะวิทยาการจัดการร่วมกับธนาคารออมสิน จัดโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2567 กิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจฐานราก ด้วยการดึงภูมิปัญญาท้องถิ่นยกระดับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

เป็นการได้ประโยชน์ร่วมกันทั้งกลุ่มชุมชนสามารถพัฒนามูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์หรือบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ฯ พัฒนาชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมตามแนวทางมหาวิทยาลัยเชิงพื่นที่ นักศึกษาได้ฝึกทักษะทางสังคม และธนาคารออมสินเข้าใจบริบทจนสามารถพัฒนาธุรกิจให้ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนได้อย่างมีคุณภาพ

กิจกรรมวันนี้เริ่มต้นด้วยการให้ความรู้ด้านการจัดการการเงินอย่างรอบด้าน ทั้งการวางแผนการเงิน การทำบัญชีรับจ่าย การลงทุนเบื้องต้น ฯลฯ จากวิทยากรธนาคารออมสิน จากนั้นเป็นการนำเสนอโครงการย่อย (Proposal) ของกลุ่มนักศึกษาที่เลือกกลุ่มชุมชนในการพัฒนา จำนวน 5 กลุ่ม ประกอบด้วย

กลุ่มที่ 1 กลุ่มการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโคกอำเภอวาริชภูมิ สกลนคร พัฒนาเรื่องการนวดแผนโบราณ เพื่อเพิ่มเติมกรท่องเที่ยวอย่างครบวงจร

กลุ่มที่ 2 กลุ่มโฮมสเตย์เฮือนมีแฮง ตำบลเหล่าปอแดง อำเภอเมืองสกลนคร พัฒนาเรื่องผลิตภัณฑ์จากแชมพูมะกรูด เพื่อเสริมระบบนิเวศของโฮมสเตย์ให้หลากหลาย

กลุ่มที่ 3 กลุ่มสตรีขนมหวานบ้านหนองแคน ตำบลเหล่าปอแดง อำเภอเมืองสกลนคร พัฒนาบรรจุภัณฑ์และช่องทางการตลาดของขนมครองแครง

กลุ่มที่ 4 กลุ่มจักสานผู้สูงอายุบ้านหนองแคน ตำบลเหล่าปอแดง อำเภอเมืองสกลนคร พัฒนาผลิตภัณฑ์บรรจุแก้วกาแฟแบบพลาสติก เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่

กลุ่มที่ 5 กลุ่มสตรีสหกรณ์บ้านคลองไผ่พัฒนา อำเภอเมืองสกลนคร แปรรูปถั่วลิสงเป็นธัญพืชปรุงรส พัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม

นักศึกษาทั้ง 5 กลุ่มนำเสนอประมาณ 5 – 10 นาที และรับฟังข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการ จากนั้นในส่วนต่อไปต้องดำเนินการลงพื้นที่ เรียนรู้ พัฒนา และลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามตัวชี้วัดที่กำหนดต่อไป

ต้องขอบคุณธนาคารออมสินที่สนับสนุนงบประมาณโครงการ บุคลากรจากธนาคารออมสินภาค 10 และจากส่วนกลางที่อยู่ในระบบออนไลน์ทุกท่าน ขอขอบคุณ รศ.ดร.จิตติ กิตติเลิศไพศาล หัวหน้าโครงการ และอาจารย์ที่ปรึกษาทุกกลุ่ม