ตัวแทนจากคณะวิทยาการจัดการ เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำหลักสูตรการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (OBE) เฟสที่ 1

เผยเเพร่เมื่อ 72 เข้าชม
8 ธันวาคม 2566

ตัวแทนจากคณะวิทยาการจัดการ เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำหลักสูตรการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (OBE) เฟสที่ 1 จัด โดยสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน และใช้ทีมวิทยากรจากคณะครุศาสตร์
วันนี้มีจุดเน้นในเรื่องของการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected learning outcomes) ของหลักสูตร ที่ต้องวิเคราะห์จากความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder needs)
เพราะเป็นการพัฒนาหลักสูตรแบบย้อนกลับ (Backward design) ต้องกำหนดผลลัพธ์ที่คาดหวังที่เกิดจากผู้มีส่วนเสีย ๆ อาทิ ผู้ใช้บัณฑิต นักศึกษา ประชาชน ฯลฯ แล้วจึงกำหนดกระบวนการต่าง ๆ เพื่อรำไปสู่เป้าหมาย
ขั้นตอนแรกจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่สุด หมดยุคของการกอดรายวิชา หรือกำหนดรายวิชาจากความเชี่ยวชาญของอาจารย์ผู้สอนแล้ว ครับ และสิ่งที่ต่อเนื่องจากการทำหลักสูตรแบบ OBE คือ การประกันคุณภาพแบบ AUN QA
ซึ่งเป็นมาตรฐานของมหาวิทยาลัยในอาเซียน เปลี่ยนแปลงจากระบบการประกันคุณภาพแบบเดิมมากพอสมควร มีการให้คะแนนแบบ Rating Scale ระดับ 7 คะแนน กำหนดเกณฑ์ออกเป็น 8 ข้อ 53 ตัวบ่งชี้
สิ่งสำคัญคือความเกี่ยวข้องสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันของการจัดการเรียนการสอนและหลักสูตร (Alignment) และวันนี้ยังมีการยกกรณีศึกษาจากหลักสูตรกลุ่มแรกที่เข้าสู่ OBE และถูกประเมินจาก สป.อว. เรียบร้อย แล้ว
นับว่าเป็นประโยชน์ต่อคณะวิทยาการจัดการมาก เพราะในปีการศึกษา 2568 หลักสูตร บธ.บ การจัดการธุรกิจค้าปลีก ต้องปรับปรุงตามวงรอบ ปี 2569 หลักสูตร บธ.บ. 4 แขนงวิชา และ บธ.บ. ต้องปรับปรุงตามวงรอบเช่นกัน
ช่วงเวลาต่อจากนี้จึงเป็นจุดเปลี่ยนผ่านสำคัญของคณะ ฯ และมหาวิทยาลัย ฯ อาจารย์ทุกท่านต้องมีการปรับตัวกันมากพอสมควร เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวง และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
อยู่ที่เราเรียนรู้และอยู่ที่ยอมรับมัน ครับ ต้องขอขอบคุณท่านรองคณบดี และคณาจารย์ทุกท่านที่ร่วมอบรมในวันนี้ และคงต้องเข้าร่วมกันอีกหลายรอบ ขอบคุณวิทยากรและสำนักส่งเสริม ฯ ที่จัดกิจกรรมที่มีประโยชน์