ตัวแทนคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เข้าร่วมอบรมโครงการพัฒนาระบบสนับสนุนวิจัยเชิงพื้นที่ยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจน และสร้างโอกาสทางสังคม พ.ศ. 2567 (SRA) ณ โรงแรมอมารีดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพมหานคร

14 – 15 ธันวาคม 2567
ตัวแทนคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เข้าร่วมอบรมโครงการพัฒนาระบบสนับสนุนวิจัยเชิงพื้นที่ยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจน และสร้างโอกาสทางสังคม พ.ศ. 2567 (SRA) ณ โรงแรมอมารีดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพมหานคร
เป็นการชี้แจงวัตถุประสงค์และภาพรวมการประเมินการขับเคลื่อนพื้นที่การวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม โดยยกโมเดลการพัฒนาของประเทศจีน ประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ ทำให้เกิดการเลื่อนชั้นทางสังคม (Social mobility) ในอนาคต
ด้วยการมีเป้าหมายการพัฒนาตามแนวคิดการดำรงชีพอย่างยั่งยืน (Sustainable lLvehoods Framework : SLF) โดยใช้การวิเคราะห์ฐานทุนที่แต่ละพื้นที่มีทั้ง 5 ด้าน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน ที่อาศัยพื้นที่เป็นตัวขับเคลื่อนต่อไป
รวมทั้งการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย ทั้งการพัฒนาและการออกแบบนโยบาย ตั้งแต่การก่อรูปนโยบาย การตัดสินใจเชิงนโยบาย และการประเมินผลนโยบาย โดยใช้เครืองมือการคิดเชิงออกแบบ ที่ต้องตรงกับความต้องการที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
มีการนำเสนอแนวทางการบริหารโครงการ ด้วยการใช้แพลตฟอร์มการแก้ไขปัญหาความยากจน ที่ต้องอาศัยการรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่เป็นตัวขับเคลื่อน และปิดท้ายด้วยแนวทางการบริหารกองทุน เพื่อจัดเป็นสวัสดิการต่าง ๆ ที่แก้ไขปัญหาความยากจนด้วยความคล่องตัว
สำหรับวันที่สองเป็นเรื่องของการทบทวน และสรุปแนวทางการขับเคลื่อนการวิจัย การวางแผนโครงการโดยเน้นผลลัพธ์เป็นหลัก โดยต้องมีการสร้างโรดแมปของกิจกรรมที่สอดคล้องกัน สามารถเห็นผลลัพธ์ได้ตามหมุดหมายต่าง ๆ หากมีข้อบกพร่องสามารถแก้ไขได้ทัน
ต้องขอขอบคุณทีมวิทยากรกลางจาก บพท. คณาจารย์ และนักวิจัยทุกท่านที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันนี้ การเปลี่ยผ่านเป็นมหาวิทยาลัยเชิงพื้นที่ต้องอาศัยระบบและกลไกเชิงวิชาการ แปลงเป็นแนวปฏิบัตที่จับต้องได้ ครับ