1. รหัสและชื่อหลักสูตร
รหัสหลักสูตร : 25491751110865
ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
ชื่อภาษาอังกฤษ : Master of Public Administration Program in Public Administration
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็มภาษาไทย : รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Master of Public Administration (Public Administration)
ชื่อย่อภาษาไทย : รป.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : M.P.A. (Public Administration)
3. วิชาเอก
ไม่มี
4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
ภาคพิเศษ แผน ก แบบ ก2 ตลอดหลักสูตร จำนวน 39 หน่วยกิต
5. รูปแบบของหลักสูตร
5.1 รูปแบบ
หลักสูตรระดับปริญญาโท แผน ก แบบ ก2
5.2 ภาษาที่ใช้
ภาษาไทย
5.3 การรับเข้าศึกษา
รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศที่ใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรของสถาบันโดยเฉพาะ
5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
6.1 หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 ปรับปรุงจากหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)
6.2 คณะกรรมการวิชาการคณะวิทยาการจัดการ เห็นชอบในการนำเสนอหลักสูตรต่อคณะกรรมการบัณฑิตศึกษา ในการประชุม ครั้งที่ 1/2564 วันที่ 28 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2564
6.3 คณะกรรมการบัณฑิตศึกษา เห็นชอบในการนำเสนอหลักสูตรต่อสภาวิชาการ ในการประชุมครั้งที่ 6/2564 วันที่ 3 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564
6.4 สภาวิชาการ เห็นชอบในการนำเสนอหลักสูตรต่อสภามหาวิทยาลัย
ในการประชุมครั้งที่ 1/2565 วันที่ 28 เดือนมกราคม พ.ศ. 2565
6.5 สภามหาวิทยาลัย อนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 1/2565
วันที่ 15 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
6.6 เปิดสอนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
หลักสูตรจะได้รับการเผยแพร่ว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ในปีการศึกษา 2566
8. อาชีพที่สามารถประกอบอาชีพได้หลังสำเร็จการศึกษา
8.1 อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ด้านรัฐประศาสนศาสตร์
8.2 ผู้บริหาร สายงานการบริหารงานบุคคล สายงานการบริหารงานคลัง และสายงานนโยบายและการวางแผน ของหน่วยงานภาครัฐทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
8.3 ข้าราชการ พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น
8.4 บุคลากรในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ ภาคเอกชนและองค์การมหาชน
8.5 นักวิเคราะห์นโยบายและแผนของหน่วยงานภาครัฐ
8.6 ข้าราชการทหาร ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง
ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะในการประกอบวิชาชีพในหน่วยงานภาครัฐทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น มีจิตสาธารณะ อุทิศตนเพื่อสังคม สามารถประยุกต์ใช้แนวคิดและทฤษฎีในการบริหารงานและให้บริการภาครัฐ ภาคเอกชน ในด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล บนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาลและการพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน
ความสำคัญของหลักสูตร
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เริ่มดำเนินการจัดการเรียนสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ผ่านการปรับปรุงหลักสูตร 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2555 ครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2560 เปิดรับนักศึกษามาแล้ว จำนวน 14 รุ่น สามารถผลิตมหาบัณฑิตเข้าสู่ระบบการทำงานซึ่งเป็นแรงงานสำคัญในภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้หลักสูตรมีความทันสมัยและสอดคล้องกับแผนพัฒนามหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและมีทักษะ เน้นการศึกษาวิจัยและพัฒนา เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ นวัตกรรมทางการบริหาร ปัจจุบันหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตดำเนินการจัดการเรียนการสอนครบรอบระยะเวลาของหลักสูตรแล้ว จึงได้จัดให้มีการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรเพื่อให้เกิดความทันสมัยและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ที่เปลี่ยนไป รวมทั้งให้หลักสูตรมีความสอดคล้องกับแนวโน้มความต้องการในการพัฒนาประเทศ ดังนั้น หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จึงมีการปรับปรุงเนื้อหารายวิชา ชื่อรายวิชาให้มีความทันสมัยและตรงกับความต้องการของผู้เรียน ผู้ใช้บัณฑิต กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา และการพัฒนาประเทศมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตมหาบัณฑิตทางรัฐประศาสนศาสตร์ให้มีคุณลักษณะ ดังนี้
1.3.1 มีความรู้ความสามารถทางด้านการบริหารที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
1.2 สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และประยุกต์ใช้ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ ในการวิเคราะห์สถานการณ์หรือสภาพปัญหาที่มีความซับซ้อนได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนนำทักษะทางการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาที่มีความเป็นพลวัตและมีความสลับซับซ้อนได้ อันนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานและประเทศชาติ
1.3 มีคุณธรรม จริยธรรม และภาวะผู้นำในการปฏิบัติงานและสามารถแสดงความเห็นเชิงวิพากษ์บนฐานแนวคิดและทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ ตระหนักถึงการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลและการพัฒนาที่ยั่งยืน
1.4 มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสารได้อย่างประสิทธิภาพ เหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งมีความรู้ความสามารถใช้เทคนิคการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางรัฐประศาสนศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ